RSS Feed คือวิธีการรับข่าวจากเว็บโดยอัติโนมัติ ผู้ที่รับข่าวผ่าน RSS ของเว็บไม่จำเป็นต้องเข้าเว็บก็อ่านข่าวได้ …ข้อดีก็คือ คนอ่านมีความสะดวกสบายสามารถอ่านดูข่าวใหม่ๆได้จากหลายเว็บพร้อมๆกัน โดยไม่ต้องเข้าเว็บหลายเว็บ

ตัวอย่างการใช้งาน
แต่ละเว็บก็จะมีที่อยู่ RSS เช่นเว็บนี้ใช้  http://wordpress.maahalai.com/feed
จากนั้นผู้อ่าน ก็นำที่อยู่ RSS ไปใส่ไว้ในบริการอ่านข่าวแบบ RSS
บริการอ่านข่าวแบบ RSS เช่น www.google.com/reader

ข้อเสียของ RSS
ข้อดีคือผู้อ่านไม่ต้องเข้าเว็บ ซึ่งนั่นก็คือข้อเสียของเจ้าของเว็บ เพราะคนไม่จำเป็นต้องเข้ามาดูเว็บซึ่งอาจกระทบถึงการโฆษณาบนเว็บและยอดการดูเว็บ …แต่กับเว็บที่มีคนเข้าเยอาะอยู่แล้ว คงไม่มีผลอะไรมาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้ชอบอ่านแบบ RSS แต่จะเข้าหน้าเว็บกันตามปกติ เข้าจากกูเกิ้ลบ้าง หรือเข้ามาจากลิ้งบน Facebook

การตั้งค่า
Wordpress-001

เข้าเมนู Setting > Reading

ในส่วนที่ผมตีกรอบสีแดงไว้ นั่นคือ RSS Feed

Syndication feeds show the most recent คือ จำนวนบทความที่แสดงบนหน้า Feed

For each article in a feed, show รูป แบบ Feed แบ่งเป็น Full text (บทความเต็มรูปแบบ) และ Summary (บทความแบบย่อ)

สำหรับเว็บผมเลือกที่จะตั้งเป็น Summary ซึ่งผู้ที่รับข่าวแบบ RSS จากเว็บจะดูได้แค่หัวข้อกับเนื้อหาบางส่วนเท่านั้น ถ้าจะอ่านเต็มจะต้องกลับเข้ามาดูที่เว็บ …แต่ถ้าจะอำนวยผู้อ่านแบบสุดๆ ก็เลือกแบบ Full text ได้ครับ

แล้ว RSS Feed ของเว็บ จะเอามาจากไหน ?

WordPress ได้จำแนกไว้ดังนี้  (เปลี่ยน example.com เป็นชื่อเว็บเราแทน)

รูปแบบที่ 1
http://example.com/?feed=rss
http://example.com/?feed=rss2
http://example.com/?feed=rdf
http://example.com/?feed=atom

รูปแบบที่ 2
http://example.com/feed/
http://example.com/feed/rss/
http://example.com/feed/rss2/
http://example.com/feed/rdf/
http://example.com/feed/atom/

ทั้ง 2 แบบนั้นต่างกันที่ตั้งค่า Permalink ไว้แบบไหน

ส่วน feed,rss,rss2,rdf,atom คือรูปแบบการแสดงผล

และรูปแบบการใช้ RSS Feed นั้นยังมีอีกเยอาะมาก ผมขอนำเสนอแค่เบื้องต้น ถ้าอยากจะรู้ลึกให้เข้ามาดูที่ > http://codex.wordpress.org/WordPress_Feeds

บทความก่อนหน้านี้PowerPoint บทที่ 18 : สร้างสมการคณิตศาสตร์
บทความถัดไปPowerPoint บทที่ 19 : แทรกวิดีโอ
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น