Home » บทความพิเศษ » อวสานของ “ไม้เรียว”

อวสานของ “ไม้เรียว”

อะไรคือจุดจบของ “ไม้เรียว” รักวัวให้ผูกรักลูกต้อง “ตี” จริงหรือ  แล้วทำไมไม้เรียวจึงได้อวสานไปจากสถานศึกษาเมื่อ 11 ปีก่อน  …เท่าที่จำความได้ผมถูกทำโทษด้วยไม้เรียวครั้งสุดท้ายก็ตอนสมัยเรียนอยู่ ม.2 (11 ปีที่แล้ว) แต่จำไม่ได้หรอกว่าถูกครูคนไหนตี

เกี่ยวกับการโดนตีด้วยไม้เรียวที่ยังจำฝังอยู่ในใจคือตอนอยู่ ม.1  ตอนนั้นเรียนที่ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี    ตอนนั้นเป็นช่วงหลังจากพักเที่ยงก่อนจะเข้าชั้นเรียนต้องมาปฏิบัติกิจกรรมที่หน้าระเบียงห้อง เป็นกิจกรรมสวดมนต์หรืออะไรไม่แน่ใจนัก  แล้วแล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น  คือมีนักเรียนเลื่อนโต๊ะไปมาเสียงดังน่ารำคาญ  หลังจากนั้นไม่กี่นาที ทุกคนที่ระเบียงก็ถูกเรียกลงเรียงแถวตอนหนึ่งแถว  ประมาณเกือบร้อยคนได้ เพื่อเข้าคิวโดนฟาดด้วยไม้เรียว  …ป้าบบบ  นี่คือเสียงไม้เรียวทำจากหวายยาวประมาณ 1 เมตร ฟาดลงมาที่ก้น  ด้วยการทำมุม 90 องศาของไม้เรียว  บวกกับแรงกายที่แข็งแกร่งของอาจารย์พละที่เป็นฝ่ายปกครอง  ..ถามว่าเจ็บมั้ย  อยากบอกว่าเจ็บโครตๆ

กลับมาคิดย้อนหลังเล่นๆ รู้สึกไม่ค่อยจะยุติธรรมนัก  แค่คนบางคนทำผิดแต่ต้องถูกลงโทษเหมายกแผง  ถ้าย้อนเวลาได้แล้วกลับไปแสดงความคิดเห็น (เถียง) คงถูกพักการเรียนแน่เลย  ผู้ใหญ่ที่ไหนจะมาฟังเด็ก แม้จะมีเหตุผลก็ตาม แต่ความคิดผู้ใหญ่มักถูกเสมอ  หลังจากนั้นหนึ่งปีไม้เรียวได้เป็นเครื่องมือยอดฮิตของครูในโรงเรียน  เดินไปไหนมาไหนเห็นแต่ครูพกไม้เรียว (แต่คนไม่พกก็มีเยอาะ)  ไม้เรียวมันเหมือนกลายเป็นแฟชั่นที่ทำให้คนดูมีอำนาจ (เล็กๆ)  อาจจะด้วยความเชื่อที่ว่า “ไม้เรียวสร้างคน”  …แต่หลังจากนั้นไม่นานจุดจบของไม้เรียวก็เกิดขึ้นหลังจากกระทรวงศึกษาฯ ได้ออกกฏว่าใช้ลงโทษด้วยไม้เรียวในสถานศึกษา

ใครจะบอกว่า “ไม้เรียวเป็นครู” “ไม้เรียวสร้างคน” ก็ตามเถิดนะแต่ถ้าเป็นผม ผมจะไม่ใช้ไม้เรียวสร้างคนเป็นอันขาด  การที่จะทำให้คนเชื่อฟัง เข้าใจ จดจำ นั้นไม่เห็นว่าจะต้องใช้กำลังหรือความรุนแรงเสมอไป  ย้อนไปเมื่อ 11 ปีก่อนภาพที่ยังจดจำได้คือเพื่อนร้องให้น้ำตาไหลพราก เพราะโดนไม้เรียวหวดลงไปที่ก้นหลังจากไม่ทำการบ้าน  แม้เป็นภาพไม่น่าจำ แต่ยังจำได้จนถึงทุกวันนี้  เพื่อนคนนั้นอาจจะเป็นคนดีขึ้นหรือไม่อย่างไรก็ตาม  แต่ว่าผมซึ่งไม่ได้โดนไม้เรียวมาสิบกว่าปี  ก็ยังสามารถอยู่เป็นผู้เป็นคน ทำประโยชน์ให้สังคมได้  เรียกว่า “เติบโต” แบบไม่ได้เจ็บตัว

ไม้เรียวอาจสร้าง “ความประทับใจ” ให้กับใครหลายคน แต่สำหรับผมยังย้ำจุดยืนว่า  การลงโทษเด็กด้วยความรุนแรงซึ่งๆหน้านั้น  มันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด  “เหตุผล บทเรียน และการเรียนรู้” ต่างหาก ที่จะทำให้คนเติบโตได้  และการลงโทษก็มีหลากหลายวิธี มากมาย  …นี่ล่ะนะเพราะ 11 ปีก่อน มีคนคิดคล้ายๆแบบนี้  “ไม้เรียวในโรงเรียน” จึงต้องอวสานไป

คเณศ อธิรัตนกรัณฑ์
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น
Exit mobile version