ช่วงไกล้ปีใหม่ Facebook Fanpage ที่มาแรงที่สุดและแรงอย่างต่อเนื่องเห็นจะเป็น “มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา(อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา” เพราะใช้เวลาเพียงวันเดียวก็มีคนมากด Like ทะลุแสน ปัจจุบันแฟนเพจนี้มีสมาชิกทั้งหมด 301,572
Link Fanpage >> มั่นใจว่าคนไทยเกินล้านคนไม่พอใจ แพรวา
อุบัติเหตุสยอง 9 ศพ
จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดมวลนั้นมาทางอุบัติเหตุรถเก๋งชนรถตู้โดยสารสาย ธรรมศาสตร์ – อนุเสารีชัย บนโทรลเวย์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 เวลาประมาณ 21.45 น เป็นเหตุให้รถตู้เสียหลักพลิกคว่ำ ผู้โดยสารทั้งหมด 15 คนเสียชีวิตทันที 8 ศพ และเสียชีวิตในเวลาต่อมาอีก 1 ศพ รวมเป็น 9 ศพ
จุดเริ่มต้น
อุบัติเหตุคือสิ่งที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทุกวันทั่วโลก …แต่ทำไมอุบัติเหตุครั้งนี้จึงกลายเป็นข่าวดัง โดยจุดเริ่มต้นของกระแสนั้นมาจาก Social Network กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ แม้แต่เว็บบอร์ดคนเล่นเกมส์ยังกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างดุเดือด …จนกระทั่งสื่อโทรทัศน์ต้องคล้อยตามด้วยการนำเสนอข่าวต่อยอดจากกระแสดังกล่าว
จุดเริ่มต้นจริงๆ น่าจะมาการนำเสนอข่าวที่สังคมคิดว่าไม่มีความเป็นธรรม หรือนำเสนอในเชิงเบี่ยงเบนประเด็น ถ้าได้ติดตามข่าวมาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทราบว่าอุบัติเหตุครั้งนี้เป็นความผิดของรถตู้เต็มๆ โดยนำเสนอข่าวในเรื่องความไม่ปลอดภัยของรถตู้ และความผิดพลาดของคนขับรถตู้ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว นักข่าวบางคนถึงกลับกล่าวว่า “แม้คนขับรถตู้ได้เสียชีวิตไปแล้ว ไม่สามารถเอาความผิดทางอาญาได้ แต่ดำเนินคดีทางแพ่งได้” …ข่าวทีวีแทบทุกช่องนำเสนอข่าวคล้ายๆกันว่าเป็นอุบัติเหตุจากรถตู้ โดยแทบจะไม่มีการกล่าวถึงรถคู่กรณี คือรถที่ขับชนจนเกิดอุบัติเหตุ
ด้วยการนำเสนอข่าวในเชิงเบี่ยงเบี่ยนบวกกับผู้ขับรถชนเป็นญาติกับผู้มีชื่อเสียง…ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจจนเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของการตั้ง Fanpage นี้ขึ้นมา
รายละเอียดการก่อตั้ง Fanpage
Facebook Page นี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อกดดันให้ความจริงปรากฎ เพื่อไม่ให้การสูญเสียบุคลกรชั้นนำของประเทศทั้ง9คนเปล่าประโยชน์ ไม่ได้โทษรัฐบาลและสือ แต่อยากให้มีการเคลื่อนไหวเพื่อไม่ให้ข่าวเงียบไป และอยากให้ทุกฝ่ายพิจารณาที่จะทำอะไรบางอย่าง ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นสถาบันใดสถาบันหนึ่ง และ ไม่เกี่ยวกับการเมืองทั้งสิ้น ขอให้เข้าใจโดยทราบทั่วกัน
ปล.ไม่สามารถแก้ไขชื่อเพจได้ เพราะตอนก่อตั้งน้องเค้ายังมีอายุ 18
ประเด็นแรกคือ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ตัวผู้กระทำเอง ทำไปด้วยความประมาทและคึกคะนอง
โดย ไม่ได้คาดคิดว่าจะเกิดเหตุแบบนี้ขึ้น แต่แน่นอนว่าเมื่อเหตุเกิดแล้ว เค้าก็ต้อง “รับผิดชอบ” ในฐานะผู้กระทำ ซึ่งในประเด็นนี้เราควรจะเข้าใจว่าเค้าไม่ได้จงใจให้มันเกิด ต่างกับหมูแฮมที่ขับรถไล่บี้คนอื่น อันนั้นมีความพยายามในการฆ่าอย่างชัดเจน
ประเด็นที่สองคือ สิ่งที่ตามมาหลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ความสูญเสียที่เกิดขึ้นมีมากมายนัก ดังนั้นสังคมอยากเห็นผู้กระทำผิดรวมถึงคนที่เกี่ยวข้อง (ครอบครัว) แสดงความจริงใจ และความเสียใจต่อเหตุที่เกิดขึ้น
แต่สิ่งที่เห็นใน ความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม ข่าวสารเกี่ยวกับตัว แพรวากลับถูกปกปิดและบิดเบือน การเสนอข่าวถูกเบี่ยงเบนให้เป็นความผิดของรถตู้ รวมไปถึงการให้สัมภาษณ์ของบิดาและมารดาผู้กระทำผิด จึงเป็นเหตุให้สังคมรับไม่ได้ และกลายเป็นประเด็นใหญ่ลุกลามไปทั่ว
ซึ่งเหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น ถ้า….
“ครอบครัวของผู้กระทำผิดแสดงความจริงใจและกล่าวขอโทษ รวมถึงแสดงเจตจำนงที่จะรับผิดชอบทุกประการ”
ที่ ผมไม่พูกถึงแพรวาซึ่งเป็นผู้กระทำผิดก็เพราะด้วยวุฒิภาวะของเด็ก 16 ขวบ เชื่อว่าคงทำอะไรไม่ถก ดังนั้นในกรณี(การแสดงความจริงใจ)นี้ จะไปโยนความผิดให้เด็กคงไม่ได้
แต่ควรเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่ต้องทำแทน
(ยังไม่พูดถึงสภาพจิตใจและร่างกายที่เราก็ไม่สามารถสรุปอะไรได้)
ส่วน ประเด็นสุดท้ายคือ หลักฐานหรือภาพถ่ายที่ปรากฏซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นที่สอง ในเรื่องรปที่เห็นแพรวายืนกดมือถือนั้น ถ้าดูตอนแรกอาจทำให้เราเดือดพร่านกับความรับผิดชอบของเด็กคนนี้ได้ แต่ถ้าเราลองพิจารณาด้วยใจที่เป็นธรรมจริงๆ เราก็ไม่อาจจะบอกได้ว่าเค้าทำอะไร?
อาจจะกำลังโทรขอความช่วยเหลือ?
อาจกำลังแจ้งเหตุให้ครอบครัวทราบ?
อาจแจ้ง 191 ?
หรือ อาจจะคุยเล่นกับเพื่อนก็ได้ ซึ่งส่วนตัวผมว่าเป็นไปได้ยากเพราะเป็นคุณรถชนขนาดนี้คุณจะมีอารมณ์มานั่ง คุยเล่นสบายๆเหรอ (โปรดพิจารณาจากความเป็นจริง)
ส่วนที่ว่าตัวผู้กระทำได้รับบาดเจ็บนั้น เราก็สรุปไม่ได้
เพราะอาจเกิดบาดแผลหรือบอบช้ำภายในร่างกายก็เป็นได้ และอาการบอบช้ำหลายอย่างก็ไม่ได้แสงผลทันทีที่เกิด
ซึ่งแม้เป็นแบบนั้นจริง เราก็ไม่อาจะรู้ได้ ดังนั้นการจะสรุปอะไรมันจึงเป็นแค่การคาดเดาจากหลักฐานที่มีน้อยชิ้นเท่านั้น
และ หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้แล้ว สังคมควรจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง เราต้องกลับมาทบทวนกัน เช่น การเลี้ยงลูกแบบตามใจโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง, การปกปิดความจริงโดยที่คิดว่าตนมีเส้นสายใหญ่โต แต่ในความจริงยุคปัจจุบันที่เป็นยุคของเทคโนโลยีการสื่อสาร สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำได้แล้ว, ความเป็นปัจเจกอย่างสุดขั้ว ที่กระทำอะไรโดยไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรกับคนรอบข้าง กรณีขับรถโดยประมาท คิดว่าตัวเองทำได้ ตัวเองมีเงิน ตัวเองมีรถ ตัวฉัน ของฉัน ชีวิตฉัน จะทำอะไรก็ได้
แต่ไม่เคยคิดเลยว่าการกระทำของคุณมันอาจส่งผลกระทบต่อคน รอบข้างในสังคม ในสักวันหนึ่ง ซึ่งประเด็นสุดท้ายนี้สำคัญมาก ผมอยากให้สังคมได้เรียนรู้บทเรียนครั้งนี้ไว้แล้วกลับมาทบทวนตัวเราเองด้วย อย่าคิดว่าคุณอาศัยอยู่ในโลกใบนี้คนเดียว
คุณดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นจงตั้งมั่นอยู๋ในความไม่ประมาท
ทั้งแฟนเพจและประเด็นนี้แรงมาก แม้กระแสจะดูแผ่วลงในช่วงหลังๆมานี้ แต่ยังมีการเข้าไปโพสแสดงความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องจากกรณีดังกล่าว เรียกได้ว่าทุกๆนาที …เพราะจนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีการแสดงถึงความรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรมจากฝ่ายคู่กรณี ซึ่งก็สร้างความกังวล..แม้คู่กรณีจะเป็นเพียงเยาวชนสาวอายุ 16 (บางสื่อบอก 17) แต่สังคมหวั่นเกรงอิทธิพลของนามสกุล
กิจกกรมแฟนเพจ
นอกจากจะเปิดโอกาสให้สมาชิกร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังมีการอัพเดทข่าวสารและร่วมไว้อาลัยแด่ผู้ที่จากไป
ผู้เสียชีวิต
ผู้เสียชีวิตในอุบัติเหตุครั้งนี้ล้วนเป็นกำลังของชาติของสัมคมในอนาคต เพราะมีทั้งนักวิทยาศาสตร์ สสวท และนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ …ปัจจุบันธรรมศาสตร์ได้ตั้งทีมทนายเพื่อช่วยเหลือในทางคดีกับผู้เสียชีวิตทั้งหมด และมีการติดตามคดีอย่างไกล้ชิด
การนำเสนอข่าว
การเติบโตของแฟนเพจนี้ รวมทั้งรวมทั้งมีการกล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางตามสื่อออนไลน์ต่างๆ ส่งผลให้สื่อทีวีเริ่มเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา ไม่พยายามเบี่ยงเบนจนเกินงาม อย่างที่มีบางคนกล่าวว่า “สื่อไทย ซื้อได้” เช่น เริ่มมีการกล่าวถึงความรับผิดชอบของผู้ปกครองผู้กระทำผิด ความผิดของกรณีที่เป็นเยาวชน เป็นต้น
ความรับผิดชอบ
ถึงตอนนี้ต้องบอกว่ายังคลุมเครือ ไม่แน่ไม่นอน แม้แต่ผลคดีจะออกมาอย่างไรยังไม่ทราบแน่ชัด…แม้จะผ่านมากว่าสองอาทิตย์แล้ว ประเด็นเรื่องความรับผิดชอบนี้สื่อถึงสิ่งที่เรียกว่า “ความมีมนุษยธรรม” เป็นสิ่งที่สังคมต้องการ เป็นเหตุผลของคนที่เข้ามากด Like ในแฟนเพจนี้ …สิ่งที่สังคมต้องเห็นยังไม่มีความเด่นชัด
แม่มด
มีคนกล่าวว่าการกระทำของแฟนเพจเรียกว่าเป็น “วัฒนธรรมล่าแม่มด” คือมีลักษณะเป็นศาลเตี้ย ตัดสินคนจากกระแส หรือทำในสิ่งที่นอกเหนือจากตัวบทกฏหมาย …แต่ทว่าวัฒนธรรมก็ได้สะท้อนถึง “ความเป็นธรรมในสังคม” และ “จริยธรรมของสื่อโทรทัศน์”
กฏหมายเยาวชน
อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นเยาวชนก็ต้องรับความผิด หากผลคดีบอกว่าเธอผิดจริง ซึ่งในระหว่างนี้อยู่ขั้นตอนของการรับทราบข้อกล่าวหาและจะถูกส่งไปสถานพินิจคุ้มครองเยาวชนเพื่อทำการสืบสวนต่อไป
ความคาดหวัง
ความคาดหวังของสังคมนั้นมีหลายแบบ แต่โดยรวมๆแล้วสิ่งที่ต้องการเห็น คือ ความยุติธรรมทางสังคม เพราะมีพื้นฐานมาจากความไม่ไว้วางใจกระบวนการยุติธรรมของไทย เราจะเห็นได้ชัดจากการดำเนินคดีกับนักการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล หลายๆคดีล้มเหลว หมดอายุความบ้าง หลักฐานไม่เพียงพอบ้าง บางคดีผ่านมา 7 ปีแล้วยังอยู่ในระหว่างการยื่นอุธร และบางคดีต้องต่อสู้กันถึง 15 ปีถึงจะได้ค่าชดเชย …ด้วยเหตุผลเหล่านี้มันคือสิ่งที่บ่มเพาะ ทำให้สังคมเกิดความไม่ไว้วางใจกระบวนการยุติธรรม สิ่งที่สังคมคาดหวังจึงอยากเห็นทุกคนมีความเท่าเทียม …และสิ่งสำคัญเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในตอนนี้น่าจะเป็นเรื่องของ “ความมีมนุษยธรรม” ของผู้กระทำความผิด