แฟนเพจบน Facebook จะมีการเก็บสถิติการเข้าชมและการใช้งานอย่างละเอียด  ทริปนี้เป็นการเข้มชมสถิติต่างๆ สำหรับเจ้าของแฟนเพจ  ซึ่งแต่ก่อน Facebook จะใช้วิธีการแจ้งเตือนรายละเอียดผ่านอีเมล์  แต่ปัจจุบันได้พัฒนาทำหน้าเก็บสถิติที่ละเอียด  ให้เราเข้าชมและทำการวิเคราะห์สถิตินั้นๆ เพื่อพัฒนาการสื่อสารบนแฟนเพจต่อไป

Facebook-trip-102

ในกรณีนี้ ผมขอนำแฟนเพจของเว็บ Maahalai.com มาเป็นตัวอย่างนะครับ ยิ้มแฉ่ง

เริ่มต้น

  • ที่เมนูผู้ดูแล  เลือก “ดูอย่างละเอียด”

Facebook-trip-095

  • จะมีเมนูให้เลือกสามอย่าง ภาพรวมของหน้า ผู้ใช้ และปฏิสัมพันธ์  ในรายละเอียดแต่ละหน้านั้นมีเยอาะมาก แต่ผมจะขอเลือกยกมาให้ชมแค่บางส่วนนะครับ

Facebook-trip-092

  • ในส่วนภาพรวมของหน้าเราจะเห็นสถิติผู้ใช้ในแต่ละช่วงเวลา สังเกตว่าจำนวนคนที่กดถูกใจ กับจำนวนผู้ใช้นั้นไม่เท่ากัน  ซึ่งอาจจะเป็นขาจรที่เข้ามาแต่ไม่ได้มา “ถูกใจ”

Facebook-trip-093

  • กราฟนี้แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อการแฟนเพจ จะเห็นว่ามีการโพสบทวิจารณืสูงมาก แต่แท้จริงแล้วเขาไม่ได้มาวิจารณ์เพจมหาลัยฯ อะไรหรอก แต่มาโพสลงชื่อเล่นเกมส์ CityVille ในกระดานสนทนา แลบลิ้น

Facebook-trip-096

  • มีคนกด “ถูกใจ” และเลิกถูกใจด้วยนะ

Facebook-trip-097

  • มีการจำแนกประชากรตามสัดส่วนของอายุด้วย  เฉลี่ยแฟนๆเว็บมหาลัยฯ มากที่สุดเป็นวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ อายุ 18-24 ปี  น้อยที่สุดคืออายุระหว่าง 45-54 ปี

Facebook-trip-098

  • จำแนกประเทศผู้ที่มากดถูกใจด้วย  แน่นอนว่าประเทศไทยต้องมากสุด  แต่ผมก็เพิ่งรู้เองว่ามีจากประเทศอื่นมาถูกใจด้วยเหมือนกัน

Facebook-trip-099

  • มีบอกจำนวนจำนวนผู้เข้าชมในหน้าต่างๆของเว็บ  พร้อมบอกแหล่งที่มาของการเข้าชมจากเว็บอื่น

Facebook-trip-100

  • ในส่วนนี้ผมยังไม่เข้าใจบางอย่างนะ  เช่น ค่าความประทับใจ ตรงนี้ผมยังงงๆ วิเคราะห์ไม่เป็น

ส่งท้าย

สำหรับเจ้าของแฟนเพจ ที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนาแฟนเพจของตัวเอง ผมแนะนำให้เข้าดูสถิติและทำการวิเคราะห์มัน  ซึ่งในนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อยู่มาก เช่น อายุ เพศ แหล่งที่มา ฯลฯ การที่เราทราบสิ่งเหล่านี้  จะช่วยให้เราสื่อสารกับแฟนๆได้ตรงจุดมากขึ้น

บทความก่อนหน้านี้เขียนบล็อกหาเงินกับ Blogger.com ตอนที่ 3 สมัคร Adsense เพื่อสร้างรายได้
บทความถัดไปWebmaster Tips : กันเกรียนด้วยใส่ Logo Web
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น