เมื่อทำเว็บไปได้สักพักจะเห็นได้ว่าเว็บเริ่มทำงานช้า บางทีก็ล่ม ยิ่งคนเข้าชมเว็บคุณมากเว็บคุณก็จะทำงานหนักมากขึ้น เว็บนี้ก็เคยเป็นเว็บที่ทำงานหนักมาก แต่จากการอ่านคำแนะนำหลายๆอย่าง และการลองผิดลองถูกหลายๆครั้ง เลยทำให้ปัจจุบันเว็บนี้ “ไม่ลมบ่อย” ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ แม้จะไม่ได้ดีเยี่ยม เพราะส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับโฮส

WordPress14-0008

1. ติดตั้งปลั๊กอินเก็บ Cache
ถ้าเว็บคุณมีคนเข้ามาชมมากขึ้น คุณจำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินที่ใช้จัดการแคช คุณสมบัติของปลั๊กอินพวกนี้คือทำให้คนที่เข้าเว็บคุณครั้งถัดไปไม่ต้องโหลดหน้าเว็บใหม่ 100% เพราะระบบจะเก็บแคชไว้ส่วนหนึ่ง เลยทำให้รู้สึกโหลดหน้าเว็บได้เร็ว

สิ่งที่ต้องทราบ ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงที่หน้าเว็บโดยเฉพาะด้านการออกแบบ เว็บจะยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทันที อาจต้องรอหลายชั่วโมงหรือหลายวันถึงจะแสดงผล แต่คุณสามารถ ลบแคช เพื่อให้เห็นผลเปลี่ยนแปลงทันทีได้

ปลั๊กอินที่แนะนำ WP Super Cache สำหรับวิธีการตั้งค่าคุณไปค้นกูเกิ้ล ผมยังไม่เชี่ยวชาญเท่าไหร่อาศัยว่าทำตามเขา

2. ระวังปลั๊กอินเก็บสถิติ
ปลั๊กอินประเภท Most Popular Post ที่มันดูว่าแต่ละหน้าของเว็บคุณมีการเข้าชมเท่าไหร่ ปลั๊กอินพวกนี้ทำให้เว็บคุณมีการทำงานหนัก ผมเคยลงปลั๊กอินประเภทนี้สุดท้ายก็ต้องลบออก แต่ถ้าอยากดูสถิติแบบไม่ให้เว็บทำงานหนักมากเกินไปขอแนะนำ Jetpack ซึ่งจริงๆมันคือปลั๊กอินสารพัดประโยชน์

นอกจากการใช้ปลั๊กอินเก็บสถิติ คุณอยากรู้วันๆคนเข้าอ่านเว็บคุณเท่าไหร่ ผมแนะนำให้สมัครใช้บริการเก็บสถิติจากเว็บอื่นๆ เช่น stats.in.th เป็นเว็บที่จัดอันดับเว็บไซท์ยอดนิยม และให้บริการฟรี แต่ที่ดูน่าเชื่อถือและดูเป็นทางการมากกว่าคือ truehits.net แต่จะมีค่าบริการรายปี

3. ฝากภาพไว้เว็บอื่น
ภาพที่ผมโพสลงเว็บนี้ผมใช้บริการของ Flickr.com แล้วนำ URL ของภาพมาแสดงที่เว็บนี้ โดยจะเสียค่าใช้จ่ายรายปี ผลก็คือโฮสไม่ทำงานหนักมากจนเกินไป เพราะเว็บผมมีรูปภาพมาก ทำให้ภาระการทำงานส่วนหนึ่งไปอยู่กับเว็บทีได้ฝากรูปไว้

ถ้าไม่ต้องการเสียตังค์ บริการฝากรูปฟรีก็มีเยอะแยะนะครับ แต่ฝากรูปไว้สักพักเดี๋ยวเขาก็ลบรูปคุณทิ้ง ส่วนใครที่จะฝากรูปไว้กับ Google Picasa ผมไม่แนะนำเลย เพราะถ้าเว็บคุณมีรูปจาก Google มันจะทำให้เกิดอาการรูปไม่แสดงผล

[icons icon=”icon-flag”] ปัจจัยอื่น
บางทีปัญหาเว็บล่มแล้วล่มอีกก็เพราะ โฮส ที่คุณใช้บริการอยู่ ส่วนโฮสที่ผมใช้อยู่เขาบริการดี มีปัญหาก็ช่วยแก้ให้สำเร็จ …แต่ถ้าโฮสช่วยคุณไม่ได้ทั้งๆที่คุณก็พยายามเต็มที่แล้ว ผมแนะนำให้ย้ายโฮสครับ หรืออัพเกรดโฮสเป็น VPS ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่เว็บก็จะทำงานดีขึ้นจริงๆ และทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกล้าที่จะเสี่ยงลงทุนหรือไม่

บทความก่อนหน้านี้Baidu Spark Browser โปรแกรมเล่นเว็บ ดาวน์โหลดคลิปได้
บทความถัดไปWindows 8 [ตอนที่ 22] เรียกใช้เครื่องคิดเลขบนหน้า Desktop
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น