Wordpress-113-Adsense

Google Adsense เป็นโฆษณาสำหรับเว็บยอดนิยม เหมาะสำหรับคนทำเว็บมือใหม่ หรือจะทำเว็บมานานแล้ว Adsense ก็ยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ด้วยระบบการสร้างรายได้จากยอดคลิ๊ก แต่อาจจะต้องใช้เวลานานหน่อยถึงจะได้เงินก้อนแรก เพราะต้องสะสมยอดเงินให้ได้มากถึง $100 ถึงจะเบิกเงินได้  $1 ตอนนี้ก็ประมาณ 30 บาท

ส่วนตัวเองที่เลือก Adsense มาติดเว็บเพราะดูมีความน่าเชื่อถือกว่า ถึงเวลาต้องจ่ายก็ได้รับเงินจริงๆ  ด้วยระบบที่เข้าใจไม่ยาก ถ้านำโค้ดมาติดได้ ก็เตรียมรับเงินได้เลย  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าบล็อกเรามีคนเข้ามามากแค่ไหน มีคนคลิ๊กหรือไม่ และปัจจัยอีกอย่างคือความน่าสนใจของโฆษณา และวางโฆษณาในตำแหน่งงที่มองเห็นง่าย

แนะนำถ้ายังไม่เคย

  1. สมัคร Adsense มาก่อนนะที่ www.google.com/adsense/ แล้วรอการอนุมัติให้ใช้ อาจจะใช้เวลา 7 วัน -1 เดือน ถ้าคนที่เขียนบล็อกมาก่อนจะได้เร็วหน่อย
  2. ถ้าสนใจจะหารายได้จาก Adsense แบบจริงจัง ผมแนะนำให้ไปหาซื้อหนังสือมาอ่านเลยนะครับ เอามาอ่านแบบจริงจัง ต้องลงทุนบ้าง หามาอ่านก่อนแล้วค่อยเริ่มสมัคร
  3. ผมจะไม่อธิบายวิธีสร้างโค้ด Adsense ในบทความนี้นะ ถ้าสมัครและสร้างงได้แล้วอ่านต่อได้เลย แต่ถ้ายังสร้างไม่เป็น แนะนำให้ศึกษาวิธีสร้างจากหนังสือหรือจากเว็บต่างๆ ค้นหาได้จาก Google นี่ล่ะ คนเขียนไว้เยอาะมาก
การติดตั้ง มี 3 รูปแบบ
  1. ติดตั้งโดยใช้ Plugin
  2. ติดตั้งบน Widget
  3. ติดตั้งใน Theme

1. ติดตั้งโดยใช้ Plugin

WordPress มีปลั๊กอินเกี่ยวกับ Adsense ให้เลือกใช้เยอาะมากนะ แต่ส่วนตัวใช้ Post Layout อย่างเดียว สำหรับติดตั้งโค้ด Adsense แค่ครั้งเดียว แสดงโฆษณาได้ทุกหน้าในเว็บ
รายนามปลั๊กอินที่แนะนำ
  1. Post Layout
  2. Quick Adsense
  3. Easy Peasy Adsense
  4. Awesome Google Adsense

2. ติดตั้งบน Widget

Wordpress-111

สังเกตว่าเว็บผมจะ Adsense แค่ 3 อัน ในส่วนของโพสผมติดตั้งไปสองอัน บน 1 ล่างอีก 1 ส่วนทางขวาเว็บเป็น widget ก็ติดไปอีกหนึ่งอัน  …ทั้งนี้การติดตั้งบน widget นั้นทำได้ง่ายที่สุด  เพียงแค่เข้าไปที่หน้า Dashboard >> Appearance >> Widget แล้วนำโค้ด Adsense ไปใส่  แต่ลักษณะการแสดงผลจะถูกจำกัดให้เป็นแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับสี่เหลี่มทรงสูง

 

3. ติดตั้งใน Theme

Wordpress-112

ถ้าจะติดตั้งในะธีม สามารถนำโค้ดไปวางได้ใน File manager แต่ถ้าต้องการความสะดวกในการแก้ไขและติดตั้งครั้งต่อให้ แนะนำให้เปลี่ยน Permission ของไฟล์เป็น 777 แล้วกลับมาแก้ไขใน  Dashboard >> Appearance >> Editor

การนำโค้ดมาวางในธีม ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธีมด้วยนะ ทั้งนี้ให้พิจารณาเอาเองว่าจะติดตั้งตรงไหน ผมบอกคุณชัดๆไม่ได้หรอกนะ เพราะแต่ธีมมันไม่เหมือนกัน  แต่หลักๆแล้วโครงสร้างที่แนะนำให้ติดตั้งมีดังนี้

  1. Header
  2. Footer
  3. Index หรือ Home
  4. single
  5. page

ส่งท้าย

การติดตั้งที่ผมแนะนำไป 3 รูปแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการติดตั้งโค้ดอื่นๆ ได้ครับ  เพราะโค้ดโฆษณาต่างๆก็ใช้วิธีติดตั้งคล้ายๆกัน
บทความก่อนหน้านี้แนะนำ Foursquare แอพที่จะช่วยเราท่องโลกไปด้วยความสนุกสนาน
บทความถัดไปแนะนำ Youtube และวิธีสมัครเข้าเป็นสมาชิก
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น