Webmaster-019

จุดเริ่มต้นจริงๆคือวางแผนการทำเว็บก่อน แล้วค่อยเช่าโดเมนเนม แต่เคยอธิบายไปบ้างแล้ว คราวนี้มาดูหลักการเมื่อจะไปซื้อโดเมนเพื่อทำเว็บแบบจริงๆจังๆ  โดยราคามีให้เลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ

การซื้อโดเมน

หลังจากที่ได้ชื่อเว็บอันเป็นแน่นอนแล้ว ก็เข้าไปยังเว็บของผู้ให้บริการและทำการตรวจสอบชื่อเว็บว่าสามารถซื้อได้หรือไม่  ตั้งชื่อง่ายๆอาจมีซ้ำ  และเวาการตั้งชื่อเว็บให้ตั้งเป็น  ชื่อเว็บ.นามสกุล เช่น Maahalai.com  Makky.in.th

Webmaster-018

เว็บที่ให้บริการส่วนใหญ่จะมีให้ตรวจเช็คโดเมน

รายชื่อเว็บให้บริการโดเมน

http://www.hostneverdie.com/domain-registration

http://www.siamdomain.com/

http://www.chaiyohosting.com/domain.php

http://www.thaidomainnames.com/

http://www.ecomsiam.com/domainnew.shtml

http://www.nethispeed.com/

http://www.thaidomaincenter.com/

http://www.thaidomainsave.com/

ตัวอย่างนามสกุลก็มีให้เลือกเช่น

.com, .net, .org, .name, .info, .biz, .co.th, .ac.th, .or.th, in.th

เราสามารถจดเป็นภาษาไทยได้  แต่การแสดงผลอาจเพี้ยน

ความรู้เสริม (อ้างจาก http://www.krupus.com/)

URL
ย่อมาจาก Universal Resource Locator หรือ Uniform Resource Locator
ซึ่งก็คือแอดเดส ของคุณในอินเตอร์เน็ตนั่นเอง ตัวอย่างเช่น
http://www.messiya.com ที่แสดงให้บุคคลทั่วไปรู้ถึงแอดเดส ของ Messiya ในระบบอินเตอร์เน็ต
พูดในอีกนัยหนึ่งก็คล้ายกับที่อยู่ที่เขียนบนซองจดหมายเพื่อให้บุรุษไปรณีย์สามารถนำส่งถึงหน้าบ้านคุณได้ นั่นเอง

WWW
ย่อมาจาก World Wide Web
เป็นบริการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในอินเตอร์เน็ต ไม่มีบริการใดเป็นที่นิยมเทียบเท่า
ชื่อเรียกย่อของ World Wide Web มีอยู่หลายชื่อ เช่น WWW, W3, Web เป็นต้น
ต่อไปจะขอใช้ชื่อ Web แทน World Wide Web

Hypertext Transfer Protocol (HTTP)
ป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ
โดยมีจุดประสงค์แรกเริ่มในการเป็นช่องทาง สำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยน HTML
HTTP เป็นการพัฒนาร่วมกันโดย World Wide Web Consortium
ซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลมาตรฐานเว็บ และคณะทำงานจาก Internet Engineering Task Force
โดยออกมาเป็นชุดเอกสาร RFC เอกสารชิ้นที่สำคัญคือ RFC 2616
ซึ่งเป็นมาตรฐาน HTTP 1.1 ที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน
HTTP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ร้องขอ/ตอบกลับ ระหว่างเครื่องลูกข่ายที่ใช้เว็บเบราว์เซอร์
กับเครื่องแม่ข่ายที่เรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานบนโปรโตคอล TCP ตามพอร์ตที่กำหนด (ปกติใช้พอร์ต 80)

ชื่อโดเมน หรือ โดเมนเนม (domain name)
หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์
(เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมล์แอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบ โดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึง ไอพีแอดเดรส ของชื่อนั้นๆ
เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้ง เราอาจจะใช้ “ที่อยู่เว็บไซต์” แทนก็ได้

โดเมนเนม หรือ ชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ
เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส
ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่
ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป
อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ “-” (ยัติภังค์)
คั่นด้วย “.” (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร
ตัวอักษรตัวใหญ่ A-Z หรือตัวอักษรตัวเล็ก ถือว่าเหมือนกัน

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายในการซื้อก็มีตั้งแต่ 300 ไปจนถึง 1,000 กว่าๆ โดนราคาที่แพงส่วนใหญ่จะเป็นโดเมนไทย  และโดเมนใหม่ เช่น .in.th  .me  สำหรับเว็บ maahalai.com เสียค่าเช่าโดเมนเพียง 349 บาทต่อปี

โดเมนที่ราคาถูกที่สุดคือโดเมน .com

ทั้งนี้แต่ละนามสกุลจะมีหน้าที่ต่างกัน (อ้าง http://www.b2ccreation.com/content/knowledgebase/kb_view.asp?kbid=19)

โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1.  โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2.  โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th   คือ ประเทศไทย
* .cn  คือ ประเทศจีน
* .uk  คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp   คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au  คือ ประเทศออสเตรเลีย

ตามความเห็นของผม จะเป็นบล็อกส่วนตัวหรือเว็บไซท์ไม่เน้นหาเงินก็ใช้ .com ได้นะครับ

สำหรับการชำระ ส่วนใหญ่จะชำระผ่าน ATM และให้เก็บสลิปไว้เป็นหลักฐาน  เพื่อใช้แจ้งการชำระให้กับผู้ให้บริการ  …สำหรับผมจะใช้บริการจากของไทยทุกอย่างทั้งกับโดเมนและโฮส  บทความหน้าผมจะเล่าเรื่องการเช่าโฮสนะครับ

บทความก่อนหน้านี้Webmaster Tips : องค์ประกอบของเว็บ
บทความถัดไปGODSWAR สุดยอดเกมส์ MMORPG บน Facebook
เป้าหมายการทำเว็บของผมคือ คนไทยต้องเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย จะแก้ปัญหาไอทีต้องมีทางออก เว็บมหาลัยฯจึงก่อกำเนิดขึ้น